ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา
1.1 ข้อมูลทั่วไป
1. ที่ตั้งของสถานศึกษา
ชื่อสถานศึกษา ; ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดน่าน
ที่ตั้ง : 3 หมู่ที่ 11 บ้านค่าใหม่ไชยเจริญ ตำบลไชยสถาน อำเภอเมือง
จังหวัดน่าน
รหัสไปรษณีย์ 55000 โทรศัพท์ 054775690
E-mail : special.350@hotmail.com, spenan60@gmail.com
เว็บไซต์ : www.spenan.ac.th
มีเนื้อที่ 7 ไร่ 83.1 ตารางวา
มีพื้นที่บริการ จำนวน 15 อำเภอ ดังนี้
1. อำเภอเมืองน่าน
2. อำเภอภูเพียง
3. อำเภอแม่จริม
4. อำเภอเวียงสา
5. อำเภอสันติสุข
6. อำเภอนาน้อย
7. อำเภอนาหมื่น
8. อำเภอท่าวังผา
9. อำเภอทุ่งช้าง
10. อำเภอบ่อเกลือ
11. อำเภอปัว
12. อำเภอเชียงกลาง
13. อำเภอสองแคว
14. อำเภอบ้านหลวง
15. อำเภอเฉลิมพระเกียรติ
เขตพื้นที่การศึกษาที่ประสานงานด้านวิชาการ ได้แก่
1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1
2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2
3. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน
ลักษณะภูมิศาสตร์ภูมิประเทศ
จังหวัดน่าน ตั้งอยู่ติดกับชายแดนทางด้านทิศตะวันออกของภาคเหนือตอนบน ติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ( สปป.ลาว ) ห่างจากกรุงเทพมหานครโดยทางรถยนต์ ประมาณ 668 กิโลเมตร บริเวณเส้นรุ้งที่ 18 องศา 46 ลิปดา 30 ฟิลิปดาเหนือ เส้นแวงที่ 18 องศา 46 ลิปดา 44 ฟิลิปดาตะวันออก ระดับความสูงของพื้นที่อยู่สูง 2 ,112 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีพื้นที่ 11,472.076ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 7,170,045 ไร่
อาณาเขตโดยรอบของจังหวัดน่าน
ทิศเหนือ ประกอบด้วย อำเภอเชียงกลาง อำเภอปัว มีอำเภอทุ่งช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติิ อำเภอบ่อเกลือ ที่มีพื้นที่ติดต่อกับเขตเศรษฐกิจพิเศษ เชียงฮ่อน – หงสา (สปป.ลาว )
ทิศตะวันออก ประกอบด้วย อำเภอภูเพียง อำเภอสันติสุข โดยมีอำเภอแม่จริม อำเภอเวียงสา มีพื้นที่ติดต่อกับแขวงไชยบุรี ( สปป.ลาว )
ทิศใต้ ประกอบด้วย อำเภอนาน้อย อำเภอนาหมื่น มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดอุตรดิตต์ อำเภอนาน้อย มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดแพร่ อำเภอเวียงสา มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดแพร่
ทิศตะวันตก ประกับด้วย อำเภอบ้านหลวง มีพื้นที่ติดต่อกับอำเภอเชียงม่วนจังหวัดพะเยา อำเภอท่าวังผา มีพื้นที่ติดกับอำเภอปง จังหวัดพะเยา อำเภอสองแคว มีพื้นที่ติดต่อกับอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
ทิศเหนือ และทิศตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เป็นระยะทางยาวประมาณ 227 กม.
ลักษณภูมิประเทศของจังหวัดน่าน
จังหวัดน่าน มีทิวเขาหลวงพระบางและทิวเขาผีปันน้ำ ซึ่งเป็นทิวเขาหินแกรนิต ที่มีความสูง 600 – 1,200 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ทอดผ่านทั่วจังหวัด คิดเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด พื้นที่ของจังหวัดน่านโดยทั่วไป มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่น ลอนชันเกิน 30 องศา ประมาณร้อยละ 85 ของพื้นที่จังหวัด ส่วนลูกคลื่นลอนลาด ตามลุ่มน้ำ จะเป็นที่ราบแคบๆ ระหว่างหุบเขาตามแนวยาวของลุ่มน้ำ น่าน สา ว้า ปัว และกอน
1. พื้นที่ป่าไม้และภูเขา 3,437,500 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 47.94
2. พื้นที่ป่าเสื่อมโทรม 2,813,980 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 39.24
3. พื้นที่ทำการเกษตร 876,043 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 12.22
4. พื้นที่อยู่อาศัยและอื่นๆ 43,522 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.60
ที่มา : ลักษณะภูมิประเทศ – สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดน่าน (nfcnan.com)
2. เครือข่ายการศึกษา ได้แก่
1. สำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่านเขต 1
2. สำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่านเขต 2
3. สำนักเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน
4. โรงเรียนน่านปัญญานุกูล
5. โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 56
6. สำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดน่าน
7. สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
8. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
9. วิทยาลัยเทคนิคน่าน
10. สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดน่าน
11. โรงพยาบาลน่าน
12. องค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน
13. องค์การบริหารส่วนตำบลไชยสถาน
14. คณะอนุกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการจังหวัดน่าน
3. เขตพื้นที่ให้บริการ
ที่ | เขตพื้นที่บริการ | เขตพื้นที่การศึกษา | ||
จังหวัด | อำเภอ | สพม. | สพป. | |
1 | น่าน | เมืองน่าน | สพม.น่าน | น่าน เขต 1 |
2 | น่าน | ภูเพียง | สพม.น่าน | น่าน เขต 1 |
3 | น่าน | แม่จริม | สพม.น่าน | น่าน เขต 1 |
4 | น่าน | เวียงสา | สพม.น่าน | น่าน เขต 1 |
5 | น่าน | สันติสุข | สพม.น่าน | น่าน เขต 1 |
6 | น่าน | นาน้อย | สพม.น่าน | น่าน เขต 1 |
7 | น่าน | นาหมื่น | สพม.น่าน | น่าน เขต 1 |
8 | น่าน | ท่าวังผา | สพม.น่าน | น่าน เขต 2 |
9 | น่าน | ทุ่งช้าง | สพม.น่าน | น่าน เขต ๒ |
10 | น่าน | บ่อเกลือ | สพม.น่าน | น่าน เขต 2 |
11 | น่าน | ปัว | สพม.น่าน | น่าน เขต 2 |
12 | น่าน | เชียงกลาง | สพม.น่าน | น่าน เขต 2 |
13 | น่าน | สองแคว | สพม.น่าน | น่าน เขต 2 |
14 | น่าน | บ้านหลวง | สพม.น่าน | น่าน เขต 2 |
15 | น่าน | เฉลิมพระเกียรติ | สพม.น่าน | น่าน เขต 2 |
4. ตราสัญญาลักษณ์ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดน่าน
ใช้สัญลักษณ์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีชื่อศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดน่าน อยู่ภายใต้ในตราสัญลักษณ์
ตราแบบรูปอักษรย่อ สพฐ. ซึ่งเป็นย่อของสำนักงานล้อมรอบด้วยลาบัวผูกเป็นวงรีบนพื้นสีเขียวภายใต้รูปเสมธรรมจักร หมายถึง หน่วยราชการขึ้นตรงกับกระทรวงศึกษาธิการ เบื้องล่างเป็นแถบชื่อเต็มของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน อักษรทองและขลิบข้างแถบ ทองพื้นเขียว อันเป็นสีประจำของกระทรวงศึกธิการสีลายขอบบัวปลายกลีบสมพูใบเขียวบนพื้นสีส้ม ดอกบัว หมายถึง ความเจริญทางพุทธิปัญญาและความงอกงามทางการศึกษา อันหมายถุง สีประจำวันพฤหัสบดี ซึ่งโบราณถือเป็นวันครู ผู้ประสิทธิ์วิทยาการให้แก่ศิษย์ ทั้งเป็นผู้วางรากฐานทางการศึกษาให้ถูกต้องและมีคุณธรรมทั้งหมดที่เป็น สีทอง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองในด้านการศึกษา ยังผลของการศึกษานั้น สู่การมีบุคลากรที่ดี มีความรู้ มีคุณธรรมในการพัฒนาประเทศให้เจริญ
5. สีประจำศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดน่าน
สีม่วง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง ความเจริญก้าวหน้า สีชมพู หมายถึง ความสุข ความสว่างอย่างสมบูรณ์ ความโอบอ้อมเอื้ออารีต่อผู้อื่น |
6. อักษรย่อ คือ
ศกศ.นน. ย่อมาจาก ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดน่าน
7. ต้นไม้ ประจำศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดน่าน
ต้นจำปี หมายถึง ความสดใสและความบริสุทธิ์ ความก้าวหน้าและความรุ่งเรือง |
8. คำขวัญ ประจำศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดน่าน
บริการด้วยใจ ห่วงใยดุจลูกหลาน มุ่งประสานเครือข่าย
9. คติพจน์ ประจำศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดน่าน
พัฒนาคนสู่สังคมที่กว้างไกล
10. ปรัชญา
มีความรู้พัฒนาชาติ มีความสามารถพัฒนาตน มีศักดิ์ศรีความเป็นคนแม้เป็นคนพิการ
11. ประวัติศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดน่าน
ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดน่าน เป็นศูนย์ฯ ที่จัดตั้งขึ้นตามมติ คณะรัฐมนตรี คราวประชุมเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2542 อนุมัติให้กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งศูนย์การศึกษาพิเศษ (เพื่อคนพิการ) ประจำจังหวัด ให้เป็นสถานศึกษาสังกัดกองการศึกษาพิเศษ กรมสามัญศึกษา ขึ้นทุกจังหวัดโดยกระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศจัดตั้งศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดน่าน เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2543 เพื่อจัดการศึกษาในลักษณะศูนย์บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มและเตรียมความพร้อมของคนพิการ สนับสนุนการเรียนการสอน การจัดสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกการให้บริการ และความช่วยเหลือที่เกี่ยวข้อง การจัดครูเดินสอนแก่คนพิการ ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ให้บริการการศึกษาบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพ และดำเนินระบบส่งต่อโรงเรียนและชุมชน สถานที่ตั้ง ในระยะเริ่มต้นได้รับความอนุเคราะห์สถานที่ตั้ง จากโรงเรียนศึกษาพิเศษน่าน (ปัจจุบัน โรงเรียนน่านปัญญานุกูล กิ่งอำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน และต่อมาได้ย้ายสำนักงานที่ทำการชั่วคราวมาอยู่ในบริเวณโรงเรียนบ้านนาท่อ ตำบลไชยสถาน อำเภอเมือง จังหวัดน่าน และในปีพ.ศ. 2548 ย้ายสำนักงานมาตั้ง ณ เลขที่ 3 หมู่ที่ 11 บ้านค่าใหม่ไชยเจริญ ตำบลไชยสถานอำเภอเมือง จังหวัดน่าน (โรงเรียนบ้านปางค่าเดิม) จนถึงปัจจุบันและปัจจุบันได้เปิดหน่วยบริการ 7 หน่วย คือ
1. หน่วยบริการอำเภอเวียงสา ตั้งอยู่ที่ หมู่ 10 ตำบลกลางเวียง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน 55110
2. หน่วยบริการอำเภอท่าวังผา ตั้งอยู่ที่ โรงเรียนบ้านม่วง เลขที่ 353 หมู่ 1ตำบลศรีภูมิ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน 55140
3. หน่วยบริการอำเภอนาน้อย ตั้งอยู่ที่ หมู่ 4 บ้านศรีบุญเรือง ตำบลศรีษะเกษ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน 55150
4.หน่วยบริการอำเภอปัว ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 1 หมู่ 1 บ้าน นาก้อ ตำบลเจดีย์ชัย อำเภอปัว จังหวัดน่าน 55120
5. หน่วยบริการอำเภอบ่อเกลือ ตั้งอยู่ที่ 168 หมู่ 1 (โรงเรียนบ้านบ่อหลวง) ตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน 55220
6. หน่วยบริการอำเภอทุ่งช้าง ตั้งอยู่ที่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านศาลา(หลังเดิม) หมู่ 2 ตำบลและ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน 55130
7. หน่วยบริการอำเภอสองแคว ตั้งอยู่ที่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสองแคว (หลังเดิม) หมู่ 5 อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน 55160
12. กลยุทธ์
1. พัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีพัมนาการและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่สถานศึกษากำหนด
2. พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ
3. ส่งเสริม พัฒนาและยกระดับคุณภาพครูบุคลากรสู่ความเป็นครูมือออาชีพ
4. พัฒนาสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ให้มีความปลอดภัยเอื้อต่อการจัดการศึกษาสำหรับผู้เรียน
5. สร้างเครือข่ายความร่วมมือของผืปกครอง ชุมชน หน่วยงานและภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
13. อัตลักษณ์
มารยาทงาม ปฏิสัมพันธ์ดี มีพัฒนาการ
14. เอกลักษณ์
ให้บริการครอบคลุมทุกพื้นที่ มุ่งประสานภาคีเครือข่าย
15. แผนที่ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดน่าน
16. โครงสร้างการบริหารศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดน่าน
17. แผนผังอาคารสถานที่ต่าง ๆ ของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดน่าน
17.1 อาคารอำนวยการ
17.2 อาคารหลังเก่า
17.3 อาคารโดม
17.4 อาคารห้องพัสดุ
17.5 อาคารเรือนพยาบาล
17.6 อาคารแฟลต 8 หน่วย
18. ข้อมูลอาคารสถานที่ ข้อมูลด้านอาคารเรียน อาคารประกอบ และสิ่งก่อสร้างอื่น
18.1. อาคารสถานที่ ข้อมูลด้านอาคารเรียน อาคารประกอบ และสิ่งก่อสร้างอื่น
ที่ | ประเภท/แบบ | จำนวนหน่วย | ปีงบประมาณ | ควรมี | มีแล้ว | จำนวนที่–ขาด/+เกิน | สภาพการใช้งาน |
1 | อาคารเรียน | ||||||
1.1 อาคารมาตรฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัด (อาคารส่วนหน้า) | 1 | 2561 | | ดี | |||
1.2 อาคารมาตรฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัด(อาคารธาราบำบัด) | 1 | 2559 | | ดี | |||
1.3 อาคารมาตรฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัด (ห้องสมุด) | 1 | 2557 | | ดี | |||
1.4 อาคารมาตรฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัด (แบบประหยัด) | 1 | 2552 | | ใช้การได้ | |||
1.5 อาคารเรียน | 1 | 2530 | | ใช้การได้ | |||
2 | อาคารประกอบอื่นๆ | ||||||
3.1 อาคารโรงหุงต้มอาหารและประกอบอาหาร | | – | |||||
3.2 อาคารบ้านพักครูแบบแฟลต 8 หน่วย | 1 | 2561 | | ดี | |||
3.3 อาคารบ้านพักครูมาตรฐาน 207 | | – | |||||
3.4 อาคารพยาบาล | 1 | 2553 | | ใช้การได้ | |||
3.5 อาคารหอนอนแบบมาตรฐาน 38 | | – | |||||
3.6 บ้านพักภารโรงแบบแฟลต 8หน่วย | | ดี | |||||
3.7 ห้องส้วมมาตรฐาน 6 ที 27 (4 ที่) | 2561 | | ดี | ||||
3.8 อาคารโรงอาบน้ำ | | – | |||||
3.9 บ้านพักผู้บริหาร | | – | |||||
4 | สิ่งก่อสร้างอื่น | ||||||
4.1 หอถังประปา คสล. | | – | |||||
4.2 ถนน คสล. | 1 | 2554 | | ใช้การได้ | |||
4.3 รางระบายน้ำ | | ใช้การได้ | |||||
4.4 ซุ้มประตู ป้ายชื่อ รั้วโปร่งแบบมาตรฐาน | 1 | | ใช้การได้ | ||||
4.5 เสาธงมาตรฐาน | 1 | | ใช้การได้ | ||||
4.6 รั้วมาตรฐาน แบบโปร่ง(ลวดตาข่ายถักกรอบเหล็ก) พร้อมประตูทางเข้า-ออก | | ใช้การได้ | |||||
4.7 ท่อระบายน้ำ คสล. | 1 | | ใช้การได้ | ||||
5 | อื่นๆ | ||||||
5.1 โรงจอดรถ | 1 | 2552 | | ใช้การได้ | |||
5.2 โรงจอดรถ | 1 | 2554 | | ใช้การได้ |
18.2 ครุภัณฑ์/ยานพาหนะ
ที่ | ประเภท/แบบ | จำนวนหน่วย | ปีงบประมาณ | ควรมี | มีแล้ว | จำนวนที่–ขาด/+เกิน | สภาพการใช้งาน |
1 | รถโดยสาร (รถตู้ ขนาด 10 ที่นั่ง) | 1 | 2561 | | ดี | ||
2 | รถบรรทุกดีเซล | 1 | 2544,2561 | | ดี | ||
3 | จักรยานยนต์ | 4 | 2546,2556,2561,2565 | | ใช้การได้ |
1.2 ข้อมูลผู้บริหาร
1. ทำเนียบผู้บริหารสถานศึกษา
ที่ | ชื่อ-สกุล | ตำแหน่ง | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
1 | นายอนุวัชร์ วีระชาติพิทักษ์ชน | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2544 – 2545 |
2 | นายเฉลิมเกียรติ บูรณศรี | ครู รักษาราชการแทน | พ.ศ. 2545 – 2548 |
3 | นายครรชิต ฝายนันชัย | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2548 – 2550 |
4 | นางยุพิน คำปัน | ผู้อำนวยการ | พ.ศ.2550 – 2553 |
5 | นายสมชาย จันทนา | ผู้อำนวยการ | พ.ศ.2554 – 2555 |
6 | นายสมชาย ชนันชนะ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ.2555 – 2562 |
7 | นางปวริศา สิงห์อุดร | ผู้อำนวยการ | พ.ศ.2562 – ปัจจุบัน |